วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

Assignment 6



กฎหมายเกี่ยวกับ E-commerce ของไทย

 
 การริเริ่มในประเทศไทย
         

             คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องกฎหมายว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce) และอนุมัติโครงการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2540 และดำเนินการยกร่าง พ... การพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. …
             คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการจัดทำ โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีฯ เป็นศูนย์กลางดำเนินการและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ซึ่งประกอบด้วยกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ 


1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
3. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน  
4. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 
5. กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  
6. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 
 
                 ต่อมามีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2542 เพื่อพิจารณารวมร่าง พ... การพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. … ที่กระทรวงยุติธรรมจัดทำขึ้น และร่าง พ... ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. … เพราะมีเนื้อหาสำคัญหลายส่วนที่คล้ายคลึงกัน จึงได้ข้อสรุปในการรวมร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้ใช้ชื่อว่า ร่าง พ... ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. …
                 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ และร่าง พ... ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.. … เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2543 ในชั้นการพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานฯ ได้เสนอให้รวมหลักกฎหมายของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับและเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ๆ ให้ความเห็นชอบและเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป เมื่อร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา จึงประกาศเป็นกฎหมายชื่อว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2544 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545




สาระสำคัญของ พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544  

                  เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญา ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่ การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อ กล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว เป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด สรุปเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้

หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 - 25)
  • การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8)
  • การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมาย หากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9)
  • การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร (มาตรา 10, 12)
  • การรับ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 15-24)
  • ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำตามวิธีการที่น่าเชื่อถือ (มาตรา 25)
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 26 - 31) (กรุณาดู หัวข้อ 6.4 และ 6.6)
หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 32 - มาตรา 34) (กรุณาดู หัวข้อ 6.5)
หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (มาตรา 35) (กรุณาดู หัวข้อ 6.7)
หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43)
หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46) 


การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภท 

                 การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน
3. การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต
อนึ่ง แม้ว่า พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้แต่อย่างใด จึงยังไม่มีการกำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดว่าเข้ากิจการประเภทใด (มาตรา 32) เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าประเภทใด กฎหมายฉบันนี้ให้พิจารณาจากความเหมาะสมในการป้องกันความเสียหายตามระดับความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจนั้น (มาตรา 32 วรรค 2) และยังบัญญัติเงื่อนไขการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวว่า ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และให้นำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประกอบการพิจารณา (มาตรา 32 วรรคท้าย


ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่อย่างไรตาม พ... ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.. 2544 

                ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองสำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น (ข้อ 6.4) และมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ดังนี้
1.       หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้ (เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯ จะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆ ทำนองเดียวกัน)
2.       หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรอง อายุใบรับรอง เป็นต้น
3.       หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง, เจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรอง และข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรอง
4.       หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้ เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ, วัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง, ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรอง, วิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการ ตามมาตรา 27 (2), บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น
5.       หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี ตามมาตรา 27 (2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการ
6.       หน้าที่ใช้ระบบ วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ



ที่มา:  http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-521/2005-2/Assignment-02/MPA_07_04/ecommerce/ecommerce07.htm(สืบค้น วันที่ 12 มกราคม 2556)