วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Assignment 4




E-advertising


1.กลยุทธ์เชิงรับ
            
          กลยุทธ์ในกลุ่มนี้มีไว้เพื่อป้องกัน Market Share, Mind Share, Brand Positioning และ Profitability จากการจู่โจมและช่วงชิงของคู่แข่ง  การตั้งรับที่ดีจะทำให้มี Superior Positioning ทันทีเมื่อเทียบกับคู่แข่งในทุกครั้ง หัวใจของการตั้งรับอยู่ที่ว่าเราต้องพยายามหาจุดอ่อนของเราอยู่ตลอดเวลาเพื่อสกัดให้ได้เมื่อถูกโจมตีหรือพยายามเปลี่ยนให้เป็นจุดแข็ง  เรียกว่าเป็นการทำ Weakness audit หลักการอื่น ๆ ก็คือต้องสอดส่องว่าคู่แข่งรายใดจ้องจะโจมตีเราบ้างและเมื่อใด  การจะใช้กลยุทธ์ให้ได้ผลดีก็ต่อเมื่อ Defenders มีการโต้ตอบที่สมน้ำสมเนื้อหรืออาจต้องหนักกว่าการโจมตีจากผู้คุกคาม  และต้องพยายามป้องกันทุก Strategic Markets ให้ได้ มีกลยุทธ์ดังนี้
      

 1. Position Defense ตั้งรับแบบไม่เปลี่ยนแปลง Core Positioning และ Mainstream  Strategy 
แต่เป็นการสร้าง Entry Barriers ให้กับผลิตภัณฑ์และตลาดเพื่อทำให้คู่แข่งมีอุปสรรคมากขึ้นในการโจมตีผลิตภัณฑ์ในตลาด  Tactic ที่นิยมใช้คือ CRM (Customer Relationship Management) เพื่อให้ เกิด Brand Bonding และ Brand Relationship ที่เหนียวแน่นกับลูกค้าชั้นดีซึ่งมักเป็นชนกลุ่มน้อยที่ก่อให้เกิดรายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจ ที่นักวิชาการมักเรียกว่า 80/20  Rule ธุรกิจบางรายถึงกับ Ignore ลุกค้า 80 % เมื่อลด cost  ของการ serve ลูกค้าที่ไม่ Profitable เพื่อเพิ่ม Bottom Line โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มี High-Variable Cost Business Model นอกจาก CRM แล้วยังมี Tactics อื่น ๆ เช่น การจด Patent Protection, การทำ Exclusive Agreements กับ Dealers  และ Channel Members          
       

2.Mobile Defense คล้ายกับ Positioning defense ต่างกันที่  Mobile Defense เป็นการตั้งรับแบบเป้าเคลื่อนที่  มีการเปลี่ยนแปลง Positioning และ Strategy อยู่ตลอดเวลาทำให้ทำให้คู่แข่งยาก ที่จะโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล Tactics ที่นิยมใช้คือออกผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาเรื่อย ๆ (Series of New Product Introduction)  การเปลี่ยนตำแหน่งผลิตภัณฑ์ใหม่ (Product/Brand Repositioning)  การเปลี่ยนกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย (New Promotional Tools & Tactics) การเข้าตลาดใหม่ (Market Development) รวมถึงการเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Market Penetration into New Targeted Segments) กลยุทธ์ Mobile Defense จะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อลักษณะขององค์กรเป็นแบบ  Lean & Flexible Management Organization สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
       

3.กลยุทธ์ Counter Offensive เป็นการโต้ตอบแบบย้อนรอยเพื่อลด Impact จากการโจมตี โจมตี ของคู่แข่ง เช่นถ้าคู่แข่งออก  New Ad Campaign เพื่อ claim จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ เราก็อาจจะออก Ad Campaign เพื่อ claim จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์คู่แข่งที่ไม่พบในผลิตภัณฑ์ของเรา
       

4. กลยุทธ์ Pre-emptive Strike แตกต่างจากกลยุทธ์ Counter Offensive ตรงที่เป็นฝ่าย  โจมตีก่อนเนื่องจากทราบว่าคู่แข่งจะโจมตี 
      

 5. กลยุทธ์ Flank Position เน้นการตั้งรับเพื่อป้องกัน Market Share จากการถูกโจมตี แบบไม่เผชิญหน้า ถ้าหากตั้งรับไม่ไหวก็ใช้กลยุทธ์ Withdrawal
      

6.กลยุทธ์ Withdrawal  เริ่ม Drop ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกำไรและลด Resources ใน 
Operating Market Segments
ลงไปเรื่อย ๆ ถึงขั้น Drop Brand และอาจยกเลิกธุรกิจ 




2.กลยุทธ์เชิงรุก

           

            กลยุทธ์สงครามการตลาดเชิงรุก คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีเป้าหมายเพื่อบรรลุเป้าประสงค์บางอย่าง โดยทั่วไปจะเป็นการชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งที่เป็นเป้าหมาย นอกจากส่วนแบ่งการตลาดแล้ว กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกยังมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่ง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก
, กลุ่มตลาดระดับบนและกลุ่มลูกค้าที่มีความภักดีสูง

ปัจจัยสำคัญ

ปัจจัยหลักของของกลยุทธ์มี 4 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. ประเมินจุดแข็งของคู่แข่งที่เป็นเป้าหมาย พิจารณาถึงความสนับสนุนที่จะได้จากพันธมิตรของคู่แข่ง อนึ่ง ควรเลือกเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียวในการจู่โจม

2. ค้นหาจุดอ่อนในตำแหน่งของคู่แข่ง โจมตีไปยังจุดนั้น ควรพิจารณาดูว่า การที่คู่แข่งเป้าหมายจะได้รับแรงสนับสนุนเพื่อกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ได้เสียเปรียบอีกครั้งต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่

3. เปิดฉากโจมตีให้ลงไปในตำแหน่งที่จำเพาะเจาะจงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากธรรมชาติของผู้ตั้งรับจะต้องตั้งรับในทุกทิศทุกทางที่อาจจะถูกโจมตี จึงเป็นข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ของผู้โจมตีให้สามารถทุ่มเทกำลังไป ณ จุดๆเดียว

4. เปิดฉากการจู่โจมให้เร็ว พลังของการโจมตีแบบไม่คาดฝันให้ผลที่มากกว่าการโจมตีด้วยกำลังมหาศาลแต่เอิกเริก

รูปแบบของกลยุทธ์เชิงรุก

รูปแบบหลักๆของกลยุทธ์สงครามการตลาดเชิงรุก มี 4 แบบ ดังต่อไปนี้


              การจู่โจมซึ่งหน้า - เป็นการโจมตีแบบตรงๆ ที่ต้องมีการรวบรวมเอาสรรพกำลังและทรัพยากรในองค์กรทั้งหมดที่มีอยู่ โดยเฉพาะเม็ดเงินที่ถือเป็นทรัพยากรหลัก ทุกๆหน่วยงานในองค์กรของคุณจะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อเตรียมตัวจู่โจม ตั้งแต่ฝ่ายการตลาดไปจนถึงฝ่ายผลิต และยังเกี่ยวข้องกับการโฆษณาที่เข้มข้นเพื่อประกอบกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ได้มีการทุ่มเทพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นอาวุธในการโจมตีคู่แข่งในส่วนที่เป็นจุดอ่อนโดยเฉพาะ บ่อยครั้ง ที่เป็นความพยายามที่จะ "ปลดปล่อย" กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (ออกจากการครอบงำของสินค้าคู่แข่ง) แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลยุทธ์แบบจู่โจมซึ่งหน้ามักจะพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากเหตุผลสองประการ หนึ่งก็คือ ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง ทรัพยากรที่มีคุณค่าหลายอย่างต้องถูกระดมมาใช้และสูญเสียไปในการทำสงคราม ข้อที่สอง กลยุทธ์แบบนี้มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ ในกรณีที่ฝ่ายตั้งรับสามารถที่จะจัดหาทรัพยากรเพื่อมาสนับสนุนการฟื้นตัวได้ทันเวลา ข้อได้เปรียบทางกลยุทธ์ของฝ่ายบุกจะหมดไปในทันที ทำให้คุณจำเป็นจะต้องแข็งแกร่งกว่าคู่ต่อสู้ จริงๆแล้วก็มีตัวอย่างอยู่มากมายเช่นกัน (ทั้งการแข่งขันในเชิงธุรกิจและสงคราม) ที่ฝ่ายตั้งรับสามารถต้านทานผู้บุกรุกที่กล้าแข็งกว่าได้ ดังนั้นกลยุทธ์จะเหมาะสมกับการใช้ก็ต่อเมื่อ


- สินค้าในตลาดค่อนข้างเหมือนกัน
- มูลค่าของแบรนด์ต่ำ
- ความภักดีของลูกค่าต่ำ
- ความต่างของสินค้าไม่มาก
- คู่แข่งมีทรัพยากรจำกัด
- ผู้โจมตีมีทรัพยากรมาก


กลยุทธ์โอบล้อม (กลยุทธ์ตีโอบ) กลยุทธ์นี้ค่อนรู้จักกันดี แต่ไม่ชัดเจนนักในแง่ของการเป็นกลยุทธ์เชิงรุก การโอบล้อมคู่แข่งทำได้สองทางด้วยกัน หนึ่ง คุณต้องพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกับของคู่แข่ง และให้ผลิตภัณฑ์แต่ละตัวดึงเอาส่วนแบ่งการตลาดมาจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง, ปล่อยให้มันอ่อนแอ, ทำให้เสื่อมความนิยม และก็ถึงเวลาของการโอบล้อม ถ้ากระทำได้สำเร็จอย่างลับๆ จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาความยุ่งยากได้มาก อีกด้านหนึ่งการโอบล้อมจะกระทำที่ตลาดเฉพาะกลุ่มแทนที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ ผู้จู่โจมจะขยายกลุ่มตลาดที่จะค่อยๆโอบล้อมและครอบคลุมตลาดของคู่แข่ง การเข้ายึดพื้นที่ทีละเล็กละน้อยจะช่วยให้ได้ส่วนแบ่งการตลาดจากเป้าหมาย และกลยุทธ์โอบล้อมจะใช้ได้ในเงื่อนไขต่อไปนี้

- กลุ่มตลาดไม่ได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจน
- ตลาดบางกลุ่มไม่ค่อยจะมีการแข่งขันมากนัก
- ผู้โจมตีมีทรัพยากรเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ค่อนข้างมาก
- ผู้โจมตีมีทรัพยากรเพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินการกับกลุ่มตลาดหลายกลุ่มพร้อมๆกัน
- ผู้โจมตีมีโครงสร้างองค์กรแบบไม่รวมศูนย์

กลยุทธ์ก้าวกระโดด - กลยุทธ์นี้จะเป็นการสลายกำลังคู่ต่อสู้ไปพร้อมๆกับความสามารถในการแข่งขัน ในสมรภูมิธุรกิจจะหมายถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ หรือสร้างแบบจำลองธุรกิจใหม่ๆ เป็นกลยุทธ์แห่งการปฏิวัติที่ฝ่ายรุกจะเป็นผู้เขียนกฏในการแข่งขันขึ้นใหม่ ยกตัวอย่างเช่น การมาถึงของเทคโนโลยีซีดีรอมที่ถือเป็นชัยชนะ (อย่างไม่เด็ดขาด ณ เวลานี้) ที่มีต่อคาสเซ็ตเทปผู้ซึ่งเป็นคู่แข่ง แบบที่ผู้ชนะไม่จำเป็นต้องทำสงคราม กลยุทธ์นี้จะมีประสิทธิภาพมากหากมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม


กลยุทธ์โจมตีด้านข้าง - เป็นกลยุทธ์แบบโจมตีทางด้านข้างเพื่อทำให้คู่แข่งเกิดความระส่ำระสายและเกิดแรงกดดันภายใน ในขณะที่คุณทำกำไรคู่แข่งก็ตกอยู่ในสภาวะวุ่นวาย เป็นการหลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงกับกำลังหลักของคู่ต่อสู้ (ดูรายละเอียดในกลยุทธ์สงครามการตลาดแบบโจมตีด้านข้าง)


3.กลยุทธ์ซ้อนเร้น

Comworld Thailand 2006 กลยุทธ์โฆษณาต้มตุ๋นซ่อนเร้น

            หากจะนึกถึงงานแสดงและจัดจำหน่ายสินค้าไอทีในเมืองไทยที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
คงจะต้องนึกถึงงาน Commart และน้องใหม่ Comworld สำหรับท่านที่เคยได้ไปลองสัมผัส
บรรยากาศภายในงานเหล่านี้คงจะนึกสภาพตลาดสดสินค้าไอทีได้ไม่ยากนัก

            ถึงแม้ว่าจุดเด่นของงานที่ประชาสัมพัทธ์ออกมานั้นจะมุ่งถึงการแสดงนวัตกรรมไอทีใหม่ๆ
และพยายามที่จะเทียบเคียงงานแสดงนวัตกรรมไอทีของต่างประเทศ แต่ผลงานทุกๆ ครั้ง
ที่ออกมานั้น งานเหล่านี้ก็เป็นได้เพียงแค่ "งานตลาดสดไอที" ที่จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มโหราฬเท่านั้น

           งานตลาดสดไอทีเหล่านี้เป็นต้นเหตุของการต้มตุ๋นที่แยบยลและยิ่งใหญ่เกือบจะทุกๆ ครั้ง
เนื่องมาจากสินค้าส่วนใหญ่ภายในงานที่ดูเหมือนจะลดราคานั้น จริงๆ แล้วหากซื้อภายนอกงาน
ราคาอาจจะต่ำกว่าซื้อภายในงานด้วยซ้ำ จะมีก็เพียงแค่สินค้าบางรายการที่ดูเหมือนจะนำมาลด
จนขาดทุนย้อยยับเพื่อเป็นจุดดึงดูดผู้เขาชมงาน ที่ไม่รู้ความแยบยลในการประชาสัมพันธ์โฆษณา

           วิธีการต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นที่รู้จักกันมานาน สำหรับผู้ที่เข้าชมงานอยู่เป็นประจำแต่ที่ยังคง
สามารถใช้อย่างได้ผลทุกๆ ปีก็เนื่องมาจากผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะละเลยสิทธิในการคุ้มครองของตน
คิดแต่เพียง "ก็ของมันถูกจะเอาอะไรมาก" จึงเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ต้มตุ๋นหลอกลวงอย่างโจ่งแจ้งนี้
สามารถนำมุขเดิมๆ มาหากินอยู่ได้เป็นประจำทุกๆ ปี

           วิธีการหลักๆ ที่ใช้กันอยู่เป็นประจำทุกปีก็คือ การโฆษณารายการสินค้าที่ลดราคาอย่างหน้าใจหาย
ภายในงาน เป็นต้นว่า 50% ของราคาปรกติลงในใบปลิว ป้ายโฆษณา และสื่อต่างๆ โดยส่วนใหญ่
มักจะเขียนเงื่อนไขที่ไม่มีความชัดเจนลงไปด้วย เช่น

"สินค้ามีจำนวนจำกัด"
"การใช้ส่วนลดเป็นไปตามเงื่อนไขของโปโมชั่นในงาน"
"ลดทันที xx,xxxx บาท (พิมพ์ตัวเล็กๆว่า) *เฉพาะรุ่นที่ร่วมรายการ"

หากลองพิจารณาดูแล้วเงื่อนไขที่กล่าวมาสามารถบ่งชี้ถึงความแนบเนียนในการปกปิดเงื่อนไขที่แท้จริง
ภายในงานเป็นต้นว่า

- สินค้าอาจมีเพียง 1 ชิ้นภายในงานก็ไม่ผิดกับเงื่อนไขที่เขียนไว้ในโฆษณา
- มีส่วนลดแต่ไม่รู้กี่ % ไปเสี่ยงดวงในงานกันเอาเอง
- ลดแน่ xx,xxx บาทแต่รุ่นไหนหาเอาเอง

และอีกมากมายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอารมณ์ของผู้จัดงานโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าโดยใช้
กลยุทธ์การโฆษณาซ้อนเงื่อนเพื่อให้สามารถซ่อนความจริงที่ปิดไม่มิดได้ก่อนงานเริ่ม

         


 4.กลยุทธ์สะสมแต้ม


                ในบรรดารายการส่งเสริมการขายของห้างร้านต่างๆ ที่นิยมเป็นมหาอมตะนิรันดร์กาลกับทุกกิจการตั้งแต่สินค้าและบริการ จะต้องมีบริการเสริมอย่างหนึ่ง ก็คือ การสะสมแต้ม
กาสะสมแต้ม ประยุกต์มาจากการจ่ายเงินปันผลจากยอดซื้อของสมาชิกกลุ่มสหกรณ์ โดยผู้เข้าร่วมแคมเปญของห้างร้านใดก็ตาม ต้องสมัครเป็นสมาชิกแคมเปญนั้นๆ ก่อน จะเสียค่าสมาชิกหรือสมัครฟรีก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าหรือบริการนั้นๆ ในกรณีที่ต้องเสียเงินค่าสมัคร ก็มักได้รับเงินคืนมาในรูปของคูปองเงินสด ซึ่งหากจะดึงดูดใจผู้สมัคร คูปองเงินสดควรมีมูลค่ามากกว่าเงินค่าสมัคร
หลักการง่ายๆ ของการสะสมแต้มที่เกี่ยวข้องกับการซื้อโดยตรง ถือเป็นกลยุทธ์วัดผลยอดซื้อได้ค่อนข้างชัดเจนทีเดียว เพราะยิ่งซื้อมาก ก็มีโอกาสได้แต้มมาก จึงเป็นที่มาของคำเรียกว่า สะสมแต้ม ส่วนจะซื้อเท่าไรได้แต้มเท่าไร แต่ละธุรกิจก็กำหนดแตกต่างกันไป หากแต้มได้มาง่าย จำนวนแต้มที่จะไปแลกของรางวัลก็จะค่อนข้างสูง แต่หากแต้มได้มายาก จำนวนแต้มที่จะนำไปแลกของรางวัลก็จะน้อยลงมา
สะสมแต้มถูกนำไปใช้ในธุรกิจที่หลากหลายประเภทในปัจจุบัน ทั้งธุรกิจด้านอุปโภค บริโภค หรือแม้แต่ธุรกิจบริการก็สะสมแต้มได้
               สายการบินแทบจะทุกสายมีการสะสมแต้ม ที่เรียกกันว่า สะสมไมล์บางสายการบินจับมือรวมกลุ่มกัน สมาชิกแคมเปญบินกับสายการบินใดก็ได้ในกลุ่ม ก็สามารถนำแต้มไมล์สะสมมารวมกันเพื่อแลกตั๋วบินฟรีได้
              ขึ้นรถไฟฟ้าก็สะสมแต้มได้ แม้แคมเปญ หนูด่วนพลัสที่เพิ่งจะเปลี่ยนเป็น แครอท พอยท์พร้อมบัตรโฉมใหม่ แรบบิทการ์ด”  ต่อให้เพิ่มสิทธิประโยชน์อย่างไร แต่หลักการยังเป็นเรื่องของสะสมแต้มเหมือนเดิม
              ส่วนร้านค้าปลีกอย่าง 7-11 มีรายการสะสมแสตมป์เพื่อนำมาแลกของหรือใช้แทนเงินสดในการซื้อของ คนที่ไม่เคยซื้อของ 7-11 ก็กระหน่ำซื้ออย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อให้ได้แสตมป์สะสมครบตามที่กำหนดไว้ แล้วนำไปแลกของ หรือใช้แทนเงินสดในการซื้อของ
บิ๊กซี และโลตัส ให้ลูกค้าสะสมยอดซื้อแล้วแปลงเป็นแต้ม ก่อนนำแต้มไปแปลงเป็นคูปองเงินสด 
             ทางด้าน บู๊ทส์ และวัตสัน ให้ลูกค้าสะสมยอดซื้อ เมื่อได้ครบตามที่กำหนดก็สามารถนำมาใช้แทนเงินสดได้ ขณะที่ห้างสรรพสินค้าทั่วไปก็มีการสะสมแต้ม แล้วนำแต้มมาแลกเป็นของ แลกเป็นคูปองเงินสด หรือแลกใช้เป็นส่วนลดได้ตามช่วงเวลาที่กำหนดเหมือนกัน
ร้านเช่าวีดิโอ ซีดี ดีวีดี หลายแห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีคู่แข่งกันหลายร้าน ก็มีสะสมแต้มด้วย เช่าหนังกี่แผ่นได้กี่แต้ม ครบกี่แต้ม ได้ดูหนังฟรี 1 แผ่น
             เครื่องสำอางหลายๆ แบรนด์ ก็มีแคมเปญสะสมแต้มให้กับลูกค้าที่เป็นสมาชิก เพื่อนำมาแลกส่วนลด แลกผลิตภัณฑ์ หรือแลกกับการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับสมาชิก
สองสามปีก่อน คอนแทคเลนส์ยี่ห้อหนึ่งก็มีสะสมแต้ม เมื่อสะสมครบก็นำไปแลกของที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์การใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ จำพวกผ้าขนหนู กระดาษเช็ดเลนส์แว่นตา ฯลฯ
เสื้อผ้าก็มีการสะสมแต้ม เพื่อนำมาแลกรับส่วนลด นอกเหนือจากบัตรสมาชิกที่ให้ส่วนลดอยู่แล้ว
สินค้าที่คาดไม่ถึงอย่างเฟอร์นิเจอร์ก็สะสมแต้มได้ เมื่อครบตามกำหนดก็นำมาของจำพวกอุปกรณ์ของใช้ในครัวที่แม้จะชิ้นเล็ก แต่ราคาก็ไม่ได้เล็กตามไซส์
อุปกรณ์เครื่องเขียน จำพวกกระดาษที่ขายเป็นรีมๆ ก็มีการสะสมแต้ม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็นบริษัทห้างร้านที่ซื้อครั้งละหลายรีม เพราะคนปกติที่ซื้อใช้งานเองตามบ้าน คงไม่มีใครซื้อครั้งละมากกว่าหนึ่งรีมแน่นอน
           เป็นสมาชิกบัตรเครดิต ก็สะสมแต้มได้ โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรแต่ละรอบบิลนั่นแหละ คือ แต้มที่นำไปสะสม จะนำไปแลกของรางวัล หรือแลกค่าธรรมเนียมรายปีก็ว่ากันไป บัตรเครดิตบางแบรนด์จับมือทำแคมเปญสะสมแต้มร่วมกับสายการบิน สมาชิกสามารถเลือกได้ว่าจะนำแต้มสะสมที่ได้เข้าบัตรเครดิต หรือจะใช้เป็นไมล์สะสมของสายการบินก็ได้
บัตรเครดิตบางแบรนด์กำหนดเงื่อนไขแปลกๆ เช่น หากมียอดซื้อสะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด นอกจากจะได้แต้มสะสมแล้ว ก็ยังจะได้เพิ่มวงเงินการจับจ่ายขึ้นไปอีก  ตามปกติ รายการแลกแต้มสะสมกับห้องพักโรงแรมหรือตั๋วเครื่องบินของบัตรเครดิตก็มีจัดอยู่แล้ว แต่เป็นรายการที่จัดให้เฉพาะสมาชิกผู้ถือบัตรเท่านั้น



5.กลยุทธ์ปากต่อปาก


        ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า สื่อออนไลน์ หรือที่เราเรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า Social Network เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากพอสมควร ซึ่งก็เข้าทางการตลาดแบบ Viral ที่อาศัยการบอกต่อโดยใช้สื่อที่เรียกว่า Social Network นี้เองในการเป็นสื่อกลาง จะกล่าวได้ว่าการตลาดแบบ Viral นั่นคือ การที่ผู้ส่งสารได้ไปประสบพบเจอแล้วเกิดอยากบอกต่อหรือแชร์ให้กับคนอื่นทราบ

ข้อดี


1. กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่มี Social Network เป็นสื่อกลางอยู่แล้วทำให้ไม่ใช่เรื่องยากที่จะแพร่กระจายข่าวสาร ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ดูแล้ว คนหนึ่งคนอาจมีเพื่อนหลายคนและพอสารได้กระจายไปยังหมู่เพื่อนเหล่านั้น เพื่อนของผู้ส่งสารก็จะกลายเป็นผู้ส่งสารที่จะนำไปบอกต่อให้กับเพื่อนของพวกเขาอีกทีหนึ่ง ซึ่งข่าวสารสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

2. มีน้ำหนักในเรื่องของความน่าเชื่อถือมากกว่าโฆษณารูปแบบอื่นๆ ต้องยอมรับว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เรื่องของปากต่อปากนั้น มีอิทธิพลกับการตัดสินใจมากพอสมควร เช่น ในการตัดสินใจซื้อสินค้าสักอย่างหนึ่ง ขั้นตอนในการพิจารณาคือ เลือกหายี่ห้อสินค้า หาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ สอบถามผู้เชี่ยวชาญ หรือแม้กระทั่งสอบถามคนที่เรารู้จักในกรณีที่บุคคลผู้นั้นเคยใช้ตราสินค้านั้นหรือใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อประกอบการตัดสินใจ อย่างในปัจจุบันที่เพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งก็คือ Social Network เมื่อผู้ใช้ได้ทดลองใช้แล้วนำไปโพสไว้ใน Blog หรือ Social Network เพื่อนของผู้ใช้อาจลองเข้ามาอ่านหรือเปิดดู รวมถึงได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวสารนั้นๆ ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากกว่าดูผ่านสื่อหรือโฆษณาจากทางผลิตภัณฑ์นั้นๆโดยตรง จะเห็นได้ชัดก็อย่างเช่น คลิปวิดีโอบนยูทูบหรือแม้กระทั่งบล็อครีวิวต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือเว็บไซต์จีบันดอทคอม (Jeban.com) ที่เจ้าของเว็บเริ่มต้นจากการรีวิวผลิตภัณฑ์โดยที่ตนเองได้ทดลองใช้เอง หลังๆมาเริ่มมีเจ้าของผลิตภัณฑ์ส่งสินค้ามาให้รีวิว ซึ่งตัวอย่างดังกล่าวชี้ได้ชัดว่า Viral Marketing นี้ ทำให้ผู้รับสารมีความไว้วางใจและเชื่อในข่าวสารหรือข้อมูลที่ได้รับมา


3. ต้นทุนต่ำ ขอเพียงแต่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ และ ทักษะในการคิดและสื่อสาร เพียงเท่านี้ ผู้รับสารก็พร้อมที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่กระจายข่าวสารให้คุณได้แล้ว


ข้อเสีย

1. กระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว เหรียญย่อมมีสองด้าน ในการกระจายตัวอย่างรวดเร็วนั้น ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย เมื่อมีการกระจายตัวอย่างรวดเร็ว อาจไม่มีการกรองข่าวสารก่อนที่จะรับ ซึ่งถ้าเกิดเป็นข่าวสารที่ไม่ถูกต้องแล้วนั้น ผู้ได้รับข่าวสาร(เป็นจำนวนมาก) ก็จะได้รับทราบข่าวสารหรือโฆษณาเหล่านั้นในทางที่ผิดๆ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นของผู้ส่งข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นการชักนำไปสู่ความเข้าใจผิด ซึ่งอาจส่งผลอย่างร้ายแรงได้เช่นกัน
  2. มักเป็นกระแสหรืออยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ข้อเสียอย่างหนึ่งก็คือ มักเป็นการเล่าขานในช่วงระยะเวลาไม่นาน มาเร็ว ก็มักจะไปเร็วเสมอ

6.กลยุทธ์โฮมเพจ
                บริษัท บิสิเนส ออนไลน์ จำกัด หรือบีโอแอล (BOL) ผู้ให้บริการข้อมูลบริษัทจดทะเบียนออนไลน์ สัมปทานกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เตรียมยึดตลาดข้อมูลธุรกิจเบ็ดเสร็จ เปิดบริการจัดทำโฮมเพจ ให้ลูกค้าโฆษณาสินค้าและบริการฟรี ขยายเข้ากลุ่มองค์กรขนาดเล็กถึงกลาง และลูกค้ารายบุคคล
               นางสาวชไมพร อภิกุลวนิช เผย ปีหน้า บีโอแอล วางเป้าหมายครอบคลุมกลุ่มนักธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มุ่งเป้าการเป็นศูนย์ข้อมูลธุรกิจครบวงจร โดยจัดทำโฮมเพจให้กลุ่มลูกค้าที่อยู่บนฐานข้อมูลได้โฆษณาสินค้าและบริการฟรี ทั้งนี้ผู้ที่เข้ามาค้นข้อมูลบริษัทจดทะเบียนบนบีโอแอล จะสามารถเข้าสู่หน้าโฮมเพจของบริษัทฯ นั้นได้อีกด้วย ทำให้ข้อมูลมีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้น เพิ่มเติมจากข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่ ทำให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลธุรกิจได้ครบวงจร ดังนั้นลูกค้าผู้ใช้บริการ www.bol.co.th จะได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะนอกจากจะได้จากได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลอื่นๆ แล้ว ยังสามารถติดต่อกับสถานประกอบการที่ลงโฆษณากับเราไว้ได้ทันท่วงที ทางด้านสถานประกอบการเองก็จะได้รับประโยชน์จากการลงโฆษณาดังกล่าว นอกจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มอีกจำนวนมาก เนื่องปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบีโอแอลสูงถึง 50,000 คนต่อวัน
             บริการโฮมเพจฟรี จะให้พื้นที่ฟรีแก่ลูกค้า จำนวน 1 หน้า เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ พร้อมระบุรายละเอียดอื่นๆ อาทิ สถานที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อ เพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถติดต่อได้ทันที โดยมีรูปแบบของหน้าโฮมเพจให้ลูกค้าเลือกถึง 5 รูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายหลักของบีโอแอลคือผู้ประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจขนาดกลางที่ต้องการใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ สามารถใช้บริการฟรีบนบีโอแอลเว็บไซต์ จึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง
นอกจากนี้บีโอแอลยังเปิดให้บริการซื้อ-ขายข้อมูลบริษัทจดทะเบียนผ่านเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับลูกค้า เพราะมองเห็นช่องว่างทางการตลาดที่ลูกค้าไม่สามารถ ค้นหาข้อมูลกับหน่วยงานของราชการได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันลูกค้าต้องดำเนินธุรกิจแข่งขันกับเวลา การช้าไปเพียงเสี้ยววินาทีอาจหมายถึงการเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล บีโอแอลจึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด



7.กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด


 กลยุทธ์การตลาด-Marketing Strategies
          กลยุทธ์การตลาดจะบอกรายละเอียดว่าวัตถุประสงค์ทางการตลาดแต่ละอย่างนั้น เราจะใช้วิธีการอย่างไร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ในขณะที่วัตถุประสงค์ทางการตลาดที่เรากำหนดนั้นต้องมีความเฉพาะกำหนดขอบเขต ต่างๆ ชัดเจน และเกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการซื้อของบริโภคนั้น กลยุทธ์การตลาดกลับมีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของแผนตลาด กำหนดการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้า (Product Positioning) กลยุทธ์การตลาดและยังจะใช้เป็นกรอบอ้างอิงในการพัฒนาโปรแกรมด้วยส่วนผสมการ ตลาด (Marketing Mix) อีกด้วย
ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ มากกว่า 1 กลยุทธ์ โดยพิจารณาจากหัวข้อต่างๆ ดังนี้

1. 
กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share)
ในการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดในแผนการตลาดนั้น เราต้องมีการตัดสินใจอย่างชัดเจนว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขายรวมนั้น เราจะใช้กลยุทธ์อย่างไร ระหว่างกลยุทธ์การสร้างตลาด (Build the market) และกลยุทธ์แย่งส่วนครองตลาด (Steal share) จากคู่แข่งขัน

2. กลยุทธ์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และกลยุทธ์เฉพาะท้องถิ่น (National, Regional and Local Marketing Strategies)
กลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยให้กิจการตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์การตลาดระดับต่างๆ หรือจะใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถิ่น

3. กลยุทธ์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies)
กิจการต้องตัดสินใจการใช้งบประมาณการตลาดและโฆษณาให้สอดคล้องกับช่วงการขาย ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงของปีด้วย

4. กลยุทธ์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies)
เมื่อเราพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่แข่งขันโดยตรงของเรามีผลต่อขนาดส่วนครองตลาดที่ลดลง หรือคู่แข่งก้าวมารุกล้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Unique Positioning) ของเราแล้ว เราจำต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันในแผนของเรา

5. กลยุทธ์เพื่อตลาดเป้าหมาย (Target Market Strategies)
จากการที่มีการกำหนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง เราต้องมีการพิจารณาว่าจะเข้าถึงหรือมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่าง ไร

6. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategies)
การพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นจะมีการพิจารณากลยุทธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ใหม่ กลยุทธ์ทางการขยายสายผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การเลิกผลิตภัณฑ์ หรือการปรับปรุง
ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนแอ การใช้กลยุทธ์เพื่อฟื้นผลิตภัณฑ์ หรือยืดอายุของสายผลิตภัณฑ์

7. กลยุทธ์ตรายี่ห้อ (Branding Strategies)
ธุรกิจจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์หรือตัวบ่งชี้แสดงตัวสินค้า
8. กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategies)
การตัดสินใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้กับสินค้า อุปโภคบริโภคที่พัฒนามาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่

9. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies)
เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดหรือคู่แข่งขัน หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ขอสินค้านั้นหรือไม่

10. กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies)
การตัดสินใจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของสินค้าว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าองค์กร หรือสินค้าบริการ สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าองค์กรต้องพิจารณาว่า จะวางจำหน่ายที่จุดใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบของร้านค้า หรือจุดจำหน่ายสินค้าอย่างไร ธุรกิจค้าปลีกและบริการมักจะตัดสินใจว่า วัตถุประสงค์การตลาดที่ตั้งไว้นั้นจะบรรลุโดยใช้ช่องทางการขายที่มีอยู่หรือ ไม่ จำเป็นต้องเพิ่มร้านค้าใหม่ๆ หรือช่องทางใหม่ๆ หรือไม่






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น